แคลเซียมเพิ่มความสูง วันนี้เราจะมารู้จักกับ แคลเซียม กันอย่างจริงจัง คนมักจะเข้าใจว่า แคลเซียมนั้น สามารถเพิ่มความสูงได้ แท้จริงแล้ว แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่สำคัญในกระบวนการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้ระบบร่างกายนั้นทำงานได้เป็นปกติ แต่ แคลเซียม เองก็ยังมีหน้าที่อื่นๆ อีกเยอะ เรามาดูกันว่า แคลเซียมนั้นมีหน้าที่อะไรบ้าง
บอกกล่าวเล่าเรื่องกับ แคลเซียมเพิ่มความสูง
แร่ธาตุที่สำคัญต่อระบบร่างกายของเรา ถือว่าเป็นแร่ธาตุที่สำคัญที่ส่งผลต่อ สุขภาพที่ดีเราจำเป็นต้องบริโภค แคลเซียม เพื่อช่วยให้กระดูกแข็งแรง และทำให้สารสื่อประสาทต่างระหว่าง สมอง และอวัยวะต่างๆ ทำงานได้เป็นปกติ แคลเซียมพบมากในอาหารหลายหลายชนิด ซึ่งในปัจจุบัน เราสามารถพบแคลเซียมในรูปแบบของอาหารเสริม นำมากินเพื่อที่จะเพิ่มความสูง ซึ่งแท้จริงแล้ว การบริโภค แคลเซียมอย่างเดียวนั้น ไม่ได้ทำให้ส่วนสูงเพิ่มขึ้น แต่จะต้องทานร่วมกับ โปรตีน รวมถึงการออกกำลังกาย ร่วมด้วย จึงจะทำให้สูงขึ้นได้
ข้อเท็จจริง สำหรับ แคลเซียม
- แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่จำเป็น สำหรับสุขภาพกระดูก
- วิตามิน D จะเป็นตัวข่วยในการ ดูดซึม แคลเซียม
- นม บรอคโคลี่ เต้าหู้ เป็นอาหารที่มีแคลเซียมสูง
- แคลเซียม สามารถทำให้ท้องอืด และท้องเฟ้อได้
- ผักใบเขียวบางชนิด เป็นตัวยับยั้งการดูดซึมแคลเซียมเข้าร่างกายได้
ทำไมร่างกายต้องการ แคลเซียม ? และจำเป็นต่อร่างกายอย่างไร ?
- ช่วยเรื่องกระดูกและฟัน 99% ของแคลเซียมในร่างกายนั้น จะอยู่ที่กระดูก และฟัน ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการพัฒนา การเจริญเติบโต และสะสมในร่างกายเต็มที่ จนถึงอายุ 20-25 ปี หลังจากนั้นแล้ว แคลเซียมการสะสมของแคลเซียมจะลดลง และค่อยๆ ลดลงตามอายุที่มากขึ้น คนส่วนมาก มักจะไม่ได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอก่อนอายุ 20-25 ปี ซึ่งจะส่งผลให้เรามีโอกาสเป็นโรค Osteoporosis ตามมา ซึ่งนี้คือสาเหตุของคนที่มีปัญหาเรื่องกระดูก
- ช่วยเรื่องการหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะ การหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อไหร่ก็ตามที่เซลล์ประสาทได้รับการกระตุ้นจากกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อจะปล่อย แคลเซียมออกไป เพื่อให้กล้ามเนื้อหดเกร็งตัว เมื่อแคลเซียมกลับเข้าสู่กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อจะคลายตัว
- แคลเซียมช่วยให้เลือดเกาะตัว แคลเซียมเป็นกลไกสำคัญ ในการทำให้เลือดเกาะตัวกัน กระบวนการเกาะตัวกันของเลือดนั้น เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ซึ่งกระบวนการนี้ จะมีส่วนของแคลเซียมเข้ามาเกี่ยวข้อง
- หน้าที่ในการเป็น Co-Factor ของเอ็นไซม์ตัวต่างๆ นั้นหมายตวามว่า หากร่างกายของเราขาดแคลเซียมจะส่งผลให้การทำงานของเอ็นไซม์ ตัวอื่นๆ บกพร่องไปด้วย
สรุป แคลเซียมเป็นตัวสำคัญต่อกล้ามเนื้อ และระบบเลือด ภายในร่างกาย โดยแคลเซียมจะไม่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ หากขาด วิตามิน D
อาหารที่อุดมไปด้วย แคลเซียม มีอะไรบ้าง
- นม
- ชีส
- โยเกิร์ต
- สาหร่ายทะเล เช่น เคลป์ ฮิกิจิ และ วากาเมะ
- ถั่วต่าง เช่น ถั่วพิธาชิโอ แอลมอลด์ ฮาเซลนัท งา
- บลอคโคลี่
- ผักขม
- เต้าหู้
- ซีเรียล
- มะเดื่อ
ยังรวมถึงเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วย แคลเซียม เช่น น้ำเต้าหู้ น้ำผลไม้ ไข่ และผักที่มีสีเขียวจัด ก็จะมีแคลเซียมเยอะ ยกเว้น ผักที่มีกรดออกซาลิคสูง จะทำให้การดูดซึมของแคลเซียมลดลง
การดูแลผู้ขาด แคลเซียม โดยการใช้ อาหารเสริมแคลเซียม
สำหรับคนที่ขาดแคลเซียม การใช้อาหารเสริม แคลเซียม ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อการเสริมแคลเซียม จากอาหารเสริม ซึ่งจะดีที่สุด หากเราใช้อาหารเสริมแคลเซียม ร่วมกับการกินอาหาร เพื่อช่วยให้การดูดซึม แคลเซียม นั้นดีขึ้น และจะช่วยลด Side Effect จากการใช้แคลเซียมจากอาหารเสริมอย่างเดียว ในการรับประทานแคลเซียมที่ได้รับจากอาหารเสริม นั้น ไม่ควรได้รับเกิน 600 มิลลิกรัม หากได้รับมากกว่านั้นร่างกายก็ไม่สามารถดูดซึมได้
จากการรายงานของ NIH (National Institutes of Health) ประมาณ 43% ของคนอเมริกา บริโภคแคลเซียมจากอาหารเสริม ประมาณ 70% เป็นผู้หญิง เพื่อเพิ่มแคลเซียมให้แก่ร่างกาย ประมาณ 300 มิลลิกรัม ต่อวัน
แคลเซียม นั้นควรจะบริโภคตลอดระหว่างวัน ประมาณ 2-3 ครั้ง ต่อวัน และแคลเซียมที่ดี ควรจะมีวิตามิน D อยู่ในส่วนผสมด้วย ซึ่งเป็นตัวสำคัญในกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีน และเป็นตัวช่วยในการดูดซึมแคลเซียมอีกด้วย
ประเภทของ แคลเซียม มีอะไรบ้าง
การเลือกใช้ แคลเซียม อาจจะสับสน เนื่องจากมีแคลเซียมหลายประเภท ดังนั้นเราควรเลือกให้เหมาะสมกับร่างกายของเรา ส่วนประกอบของแคลเซียมนั้น อาจจะมาจากธรรมชาติทั้งหมด หรืออาจจะผสมกับ แคลเซียมที่มาจากแหล่งอื่นๆ
- Calcium Carbonate 40% ของแคลเซียมจะประกอบไปด้วย แคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งถือว่าเป็น แคลเซียมราคาไม่แพง และเป็น แคลเซียมที่ดูดซึมได้ดีในกระเพาะอาหาร เนื่องจากต้องใช้กรดในกระเพาะอาหารเป็นตัวช่วย
- Calcium Lactate จะอยู่ในส่วนผสมของ แคลเซียม 13%
- Calcium Gluconate จะอยู่ในส่วนผสมของ แคลเซียม 9%
- Calcium Citrate จะประกอบอยู่ในแคลเซียม 21% แคลเซียทซิเตรท สามารถรับประทานได้ โดยไม่ต้องทานกับอาหาร ซึ่งเหมาะกับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับ ระบบทางเดินอาหาร กรดในกระเพาะอาหาร หรือมีปัญหาทางด้านการดูดซึมอาหาร
ผลข้างเคียงจากการใช้แคลเซียม ไม่ถูกวิธี
ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านระบบย่อยอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือมี แก๊สในกระเพาะอาหาร นั้น อาจจะเกิดจากการได้รับ แคลเซียมซิเตรท ในปริมาณที่มากหรือน้อยเกินไป ซึ่งปกติแล้ว แคลเซียมซิเตรท จะมีผลข้างเคียงมากกว่า แคลเซียมคาร์บอเนต การรับประทานพร้อมอาหาร หรือแยกรับประทานน้อยๆ ต่อวันก็จะช่วยลดผลข้างเคียงจากการใช้แคลเซียม ซึ่งในบางครั้งของการใช้แคลเซียมนั้น อาจจะต้องมี Mg มาร่วมด้วย
สำหรับบางคนที่รับประทาน อาหารมังสวิรัติ ก็มีโอกาสที่จะขาดแคลเซียม หากไม่ได้รับประทาน ผักใบเขียวจัดที่มีแคลเซียมสูง หรือ อาหารที่ให้คุณค่าทางด้านแคลเซียม รวมถึงคนที่ แพ้นมวัว หรือไม่มีน้ำย่อย แลคโตส ก็มีโอกาสที่จะขาดแคลเซียมได้เช่นเดียวกัน
ปริมาณที่ร่างกายควรได้รับแคลเซียมต่อวัน แยกตามอายุ มีดังนี้
ควรได้รับปริมาณ แคลเซียม 700 mg / วัน
ควรได้รับปริมาณ แคลเซียม 1,000
mg / วัน
ควรได้รับปริมาณ แคลเซียม 1,300
mg / วัน
ควรได้รับปริมาณ แคลเซียม 1,000
mg / วัน
ควรได้รับปริมาณ แคลเซียม 1,000
mg / วัน
ควรได้รับปริมาณ แคลเซียม 1,000
mg / วัน
ควรได้รับปริมาณ แคลเซียม 1,200
mg / วัน
ควรได้รับปริมาณ แคลเซียม 1,200
mg / วัน
สำหรับใครที่ต้องการใช้แคลเซียม เพิ่มความสูง อาจจะต้องทำความเข้าใจเพิ่มขึ้น ซึ่งหากเราใช้แคลเซียมร่วมกับ การรับประทานโปรตีน ก็จะช่วยเสริมความสูงได้ ไม่ยาก หากใครกำลังมองหา ตัวช่วยเรื่องความสูง แนะนำ ผลิตภัณฑ์เพิ่มความสูง ที่มีทั้ง แคลเซียม และโปรตีน ทานคู่กัน